ภาพบรรยากาศ งานบุญทักษิณานุปธาน หลวงปู่จวบ สุภัทโธ ครบรอบวันมรณภาพ วันที่ 15 ม.ค. 2563
วันพุธที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2563
ภาพบรรยากาศ งานบุญทักษิณานุปธาน หลวงปู่จวบ สุภัทโธ ครบรอบวันมรณภาพ
Chatree Munechamnan
มกราคม 15, 2563
วันพฤหัสบดีที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2563
พิธีวางศิลาฤกษ์ ศาลาการเปรียญ ศาลาญาณรังษี
Chatree Munechamnan
มกราคม 02, 2563
พิธีวางศิลาฤกษ์ ศาลาการเปรียญ ศาลาญาณรังษี
พิธีวางศิลาฤกษ์ ศาลาการเปรียญ ศาลาญาณรังษี ได้จัดขึ้นในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2551 โดยมีพระอาจารย์ วี ได้ทำพิธีบวงสรวงเทพเทวดา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย เวลา 9:09 น. ได้อธิษฐานจิต แผ่นศิลาฤกษ์ อิฐเงิน ทอง นาค และ ไม้มงคลทั้ง 9 เหรียญรูปหล่อคณาจารย์ แผ่นตระกรุด เมล็ดกันภัย พร้อมได้หว่านทรายเสกหลวงปู่จวบ ในมณฑลพิธีท่ามกลางคณะศิษยานุศิษย์ที่มีร่วมประกอบพิธีเป็นจำนวนมาก
ภาพ พระอาจารย์ วี บวงสรวงเทพเทวดา ก่อนทำพิธีวางศิลาฤกษ์
ภาพ พระอาจารย์ วี กำลังวางศิลาฤกษ์ (ไม้มงคลทั้ง 9)
ภาพ ศิลาฤกษ์ที่ได้ทำการวางเรียบร้อยแล้ว
เมื่อถึงเวลา 10:00 น. ได้อาราธนานิมนต์พระสงฆ์ จำนวน 9 วัด พระสงฆ์ 12 รูป มาเจริญพระปริตรเพื่อเป็นสิริมงคลในงานพิธีวางศิลาฤกษ์ ได้เชิญ คุณพูนศรี เตชานุรักษ์ มาเป็นประธานพิธี จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย โดยมีพระครูสุวรรณโพธิเขต (หลวงพ่อคูณ อัครธัมโม วัดป่าโพธิสุวรรณ อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี) มาเป็นประธานฝ่ายสงฆ์
ภาพ คุณพูนศรี เตชานุรักษ์ เป็นประธานพิธี จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย
ภาพ ญาติโยมนั้งฟัง พระสงฆ์เจริญพระปริตร
ภาพ คุณแม่สุวรรณา ปฏิพัทรเผ่าพงศ์ พร้อม ญาติมิตร ถวายเครื่องไทยทาน
ภาพ พระครูสุวรรณโพธิเขต ปะพรมน้ำพระพุทธมนต์เพิ่มเป็นสิริมงคล แก่ญาติโยม
ภาพบรรยากาศ ในวันงานพิธีวางศิลาฤกษ์
วันพุธที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563
ประวัติของวัดป่าญาณรังษี
Chatree Munechamnan
มกราคม 01, 2563
ประวัติของวัดป่าญาณรังษี
ครอบครัวพ่อค้า แห่งร้านศรีสุพรรณ
มีครอบครัวหนึ่ง อาชีพเป็นพ่อค้า ชอบค้าขายตามเขื่อนต่างๆ ที่กำลังก่อสร้างอยู่ ครอบครัวนี้จะตั้งร้านค้าใกล้ๆ แคมป์ที่พักอาศัยของคนงาน ที่มาใช้แรงงานในการก่อสร้างเขื่อนศรีนครินทร์ ร้านค้าได้ขายของโชห่วย เครื่องอุปโภคบริโภค จึงมีคนงานและผู้คนในบริเวณใกล้เคียง แวะเวียน มาซื้อสินค้ากับร้านนี้เป็นประจำ เนื่องจากร้านค้านี้ขายของไม่แพง มีอัธยาศัยที่ดีต่อลูกค้า จึงทำให้ขายสินค้าหมดได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากพื้นที่ตั้งของตลาด ที่ทางเขื่อนได้จัดสรรขึ้น อยู่ในท่ามกลางหุบเขา พื้นที่ราบ หนทางในการขนส่งค่อนข้างลำบาก ในช่วงแรกยังใช้เรือเป็นพาหนะในการขนส่ง ระยะทางต้องใช้เวลานาน
ชาวบ้านบริเวณนี้อาศัยร่วมกันเป็นหมู่บ้าน มีอาชีพทำไร่ รับจ้างใช้แรงงาน เข้าป่าหาหน่อไม้ เป็นต้น ชาวบ้านส่วนใหญ่มีความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย เมื่อทางการมีโครงการที่จะสร้างเขื่อนศรีนครินทร์ บริษัทอิตาเลียนไทย ได้รับสัมปะทานเข้ามาก่อสร้างเขื่อน ได้ประกาศรับสมัครคนงาน จำนวนมาก ชาวบ้านเห็นว่าค่าแรงได้ดีกว่า อาชีพทำไร่ จึงได้เข้ามาสมัครเป็นคนงาน มีคนงานประมาณ 30,000 คน ที่มาพักอาศัย บริเวณแคมป์คนงานที่จัดไว้ (ตลาดเอราวัณในปัจจุบัน) ครอบครัวนี้จึงมาเช่าที่เพื่อตั้งร้านขายของ
ต่อมาครอบครัวนี้ได้ตั้งชื่อร้านค้าว่า ศรีสุพรรณ เพราะมีถิ่นกำเนิดมาจาก อ.ศรีประจันทร์ จ. สุพรรณบุรี ตัวร้านค้าประกอบด้วย 2 คูหา มุงหลังคาด้วยสังกะสีเก่าๆ (ปัจจุบันเป็น ซุปเปอร์มาเก็ต 4 ห้อง ด้านหน้าร้านขายกาแฟสดและ ไส้ปั้นแม่กิมฮุ้น ที่มีชื่อเสียงในปัจจุบัน) มีลูกน้อง 6-7 คน มาช่วยบริการลูกค้า คนงานและชาวบ้านบริเวณนี้ได้มา จับจ่ายใช้สอยซื้อสินค้าที่ร้านศรีสุพรรณ เมื่อขายสินค้าดี ทำให้มีรายได้มากขึ้น ความเป็นอยู่และฐานะดีขึ้น จึงขยายกิจการ ในการไปรับซื้อสินค้า ต้องเดินทางโดยใช้รถยนต์ไปขนสินค้า จากตัวจังหวัด สุพรรณบุรี และ ราชบุรี ในแต่ละวัน พ่อบ้านต้องขับรถบรรทุก 6 ล้อ วิ่งไปซื้อของ ของสมัยนั้นขายดีมาก ตัองวิ่งรถไปซื้อวันละหลายรอบ
ชาวบ้านส่วนใหญ่ รู้จักร้านศรีสุพรรณ เพราะเป็นลูกค้า ที่มาซื้อข้าวสาร อาหารแห้ง เพื่อไปทำกับข้าว ในบางครั้งชาวบ้านก็เดือดร้อน เนื่องจากมีรายได้น้อย ก็มาซื้อสินค้าแบบเงินเชื่อ โดยนำสินค้าไปก่อน แล้วมาจ่ายเงินในภายหลัง การขายสินค้าแบบเงินเชื่อ หรือลูกค้าเซ็นไว้ก่อน แล้วจ่ายทีหลัง ทำให้ร้านศรีสุพรรณต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายมาก มีเงินหมุนเวียนในแต่ละเดือนน้อยลง จึงต้องวางแผนการเงินให้ดียิ่งขึ้น ชาวบ้านที่ห่างไกลออกไป เช่น หมู่บ้านหนองพงพวย บ้านกลาง บ้านแก่งเรียง บ้านถ้ำพระธาตุ บ้านพุเตย บ้านปลายดินสอ บ้านต้นมะพร้าว บ้านละมุด บ้านน้ำตกแม่ขมิ้น และหมู่บ้านในระแวกนั้น เช่น น้ำตกนอก แคมป์ไม้ลวก น้ำตกเอราวัณ จึงรู้จักร้านศรีสุพรรณเป็นอย่างดี โดยเรียกเถ้าแก่ทั้งสองว่า " เถ้าแก่เม้ง " และ" แม่กิมฮุ้น "
ภาพ ครอบครัวศรีสุพรรณ
ครอบครัวผู้จับจองสิทธิ์ที่ดิน บ้านหนองพงพวย
เมื่อชาวบ้านเดือดร้อน ผลผลิตเสียหาย รายได้ตกต่ำ ชาวบ้านหลายคนในเขตนี้ที่รู้จักเถ้าแก่เม้ง ก็มาขอความช่วยเหลือในการ เซ็นสินค้าเงินเชื่อ ร้านศรีสุพรรณก็ให้ความเมตตาแก่ชาวบ้าน เมื่อชาวบ้านติดหนี้สินมากขึ้น ก็ได้นำที่ดินมาจำนองไว้ เถ้าแก่เม้งและคุณแม่กิมฮุ้นไม่อยากได้ที่ดิน เพราะที่ดินราคาถูก การประกอบอาชีพทำไร่ยุ่งยากและบวกกับตนเองไม่มีความถนัดในอาชีพทำไร่มาก่อน เมื่อชาวบ้านมาจำนองที่ดินหลายครั้ง ไม่มีเงินมาใช้คืน เถ้าแก่เม้งก็จำใจรับที่ดินไว้ เมื่อมีที่ดินจำนวนมากจากชาวบ้านมาขอให้ช่วยเหลือมากขึ้น จึงเริ่มสะสมที่ดินไว้เป็นมรดกให้ลูก
คุณเขมผู้ได้รับมรดกตกทอด
ร้านศรีสุพรรณ ได้สร้างฐานะสร้างครอบครัวจากอาชีพค้าขาย เพราะเป็นคนขยันหมั่นเพียร จนได้ส่งเสียลูกชายและลูกสาว ให้ได้รับการศึกษา และได้สำเร็จการศึกษา มีอาชีพเป็นของตนเองทุกคน เมื่อสองสามีภรรยามีอายุมากขึ้น จึงยกที่ดินบ้านหนองพงพวย ให้กับลูกชายเป็นผู้ดูแลต่อ ลูกชายของร้านศรีสุพรรณมีชื่อว่า " คุณเขม " คุณเขมได้เริ่มทำไร่และสวนผสม ในช่วงแรกได้เพาะปลูกผักชี ในปีนั้นได้ราคาดี ปีต่อมาได้ปลูกมะละกอ จำนวน 30 ไร่ ได้ผลผลิตดีในช่วงแรก และปลูกไม้สวนผสมในไร่มะละกอ
ในช่วงฤดูฝน มีฝนตกชุกมากติดต่อกันหลายวัน ทำให้เกิดน้ำท่วมขัง ทำให้เป็นโรคเชื้อราเข้าสู่รากของมะละกอ (ใบด่าง) สร้างความเสียหายเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ขาดทุนอย่างหนัก คุณเขมจึงตัดสินใจ และเลิกทำ
ในขณะนั้น คุณเขมได้ศึกษาเล่าเรียน พร้อมกับทำพืชไร่สวนผสม เมื่อไม่ประสบผลสำเร็จในการเพาะปลูก ได้มุ่งศึกษาเล่าเรียนเพียงอย่างเดียว ปล่อยพื้นที่ไร่ว่างไว้ ด้วยอุปนิสัยของ คุณเขม ที่ได้เคยบวชพระมา 3 พรรษา ยังสนใจการปฏิบัติธรรม จึงหมั่นศึกษาหาความรู้ จนได้มาพบกับ พระครูวิจิตรวิหารวัตร (หลวงปู่จวบ) เมื่อได้พบท่าน ได้เกิดความศรัทธา ในช่วงเย็นของทุกวัน คุณเขมจะไปนั่งปฏิบัติกรรมฐานที่กุฏิของ หลวงปู่จวบเป็นประจำ เมื่อมีเวลาว่างก็จะหมั่นไปอุปัฏฐากรับใช้หลวงปู่ จึงได้อาราธนานิมนต์หลวงปู่จวบ มาโปรดที่ร้านศรีสุพรรณ เพื่อเป็นสิริมงคล แก่ครอบครัว
ภาพ หลวงปู่จวบสร้างพระพุทธชินราช ทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู๋หัว วัดท่าอิฐ อ.โพธ์ทอง จ.อ่างทอง
หลวงปู่จวบ มาโปรดร้านศรีสุพรรณ
เมื่อคุณเขมและครอบครัวศรีสุพรรณ ได้ไปเยี่ยมหลวงปู่บ่อยครั้ง และได้ร่วมทำบุญสร้างบารมีกับหลวงปู่จวบ จนหลวงปู่เกิดความเกรงใจ หลวงปู่ได้เดินทางมาโปรดร้านศรีสุพรรณ ในช่วงกลางเดือน ธันวาคม 2543 ครอบครัวศรีสุพรรณ ได้ถวายภัตตาหารเพลแด่พระสงฆ์ สร้างความปลื้มปิติยินดีกับครอบครัวศรีสุพรรณ หลวงปู่ได้ปะพรมน้ำพระพุทธมนต์ เพื่อเป็นสิริมงคลให้แก่ครอบครัวศรีสุพรรณ หลังจากนั้นได้อาราธนานิมนต์หลวงปู่จวบ มาโปรดที่ไร่ภักดีเกษม (บ้านหนองพงพวย) หลวงปู่จวบได้เดินทางโดยรถยนต์ พร้อมคณะศิษย์ที่ร่วมเดินทางมา และ พระอาจารย์ วี ได้เดินทางมาพร้อมกับคณะหลวงปู่ เมื่อเดินทางมาถึง หลวงปู่ได้เมตตา อธิษฐานจิตแผ่เมตตา ในไร่ภักดีเกษม หลังจากนั้นได้ปลูกต้นหว้า และต้นไทรทอง เพื่อเป็นสิริมงคล
เหตุแห่งการถวายที่ดินแก่คณะสงฆ์ เพื่อให้คณะสงฆ์ได้ใช้สร้างประโยชน์ในการสร้างวัด
หลังจากที่ หลวงปู่จวบและคณะ ได้เดินทางกลับ ได้ประมาณ 1 เดือน หลวงปู่จวบได้สนทนากับพระอาจารย์วีว่า
คำสนทนาหลวงปู่จวบกับพระอาจารย์วี
หลวงปู่จวบ : คุณวี "ต่อไปพื้นที่ไร่ภักดีเกษม (บ้านหนองพงพวย ม.3 ต.ท่ากระดาน อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี) จะมีความเจริญรุ่งเรืองนะ"
ท่านพระอาจารย์วี : นึกประหลาดใจ เพราะว่า ที่ไร่แห่งนี้เป็นพื้นที่ไร่สวนผสม ได้ปล่อยทิ้งไว้และมีความธุระกันดาร จะมีเจริญรุ่งเรืองได้อย่างไร
หลวงปู่จวบ : เธอจำได้ไหม คุณวี ตอนที่ฉันกับคุณวีไปที่ไร่นั้น ฉันถามคุณวี ว่า "ได้เห็นอะไรไหม"
พระอาจารย์วี : จำได้ครับหลวงปู่ "ผมไม่เห็นอะไรครับหลวงปู่"
หลวงปู่จวบ : ในตอนนั้นนะ มีพญานาค 2 ตน เป็นกษัตริย์ได้มาเข้าเฝ้าฉัน ตอนที่ฉันนั่งอยู่ที่ใต้กุฏิหลังเก่า พญานาคทั้ง 2 ตน มีความยินดี ที่ฉันได้มาเยี่ยม จึงเข้ามากราบนมัสการต้อนรับฉัน
คำสนทนาหลวงปู่จวบกับพญานาค
หลวงปู่จวบ : ท่านทั้ง 2 ตน ดูแลรักษาอยู่ที่ไหนล่ะ
พญานาค : เราทั้ง 2 ได้ดูแลรักษา บริเวณถ้ำเทวฤทธิ์ที่ไร่แห่งนี้
พญานาค : เราทั้ง 2ได้อยู่ที่นี่มาเป็นเวลาหลายหมื่นปี กำลังรอผู้มีบุญญาธิการ ที่จะมาสร้างความเจริญรุ่งเรืองในพื้นที่บริเวณนี้
พญานาค : เราทั้ง 2 ได้รู้เหตุการณ์ล่วงหน้าว่าท่านจะมาเยี่ยม เราอยากให้ท่านมาช่วยสร้างความเจริญรุ่งเรือง เพราะในอดีตพระอาจารย์ 3 รูป ได้ธุดงค์มาปักกลด ได้มาประพฤติปฏิบัติธรรมระยะนึง เห็นว่าเป็นที่เงียบสงบดีเหมาะแก่การปฏิบัติ จึงคิดจะสร้างวัด แต่มีภัยสงครามเกิดขึ้นเสียก่อน จึงได้มรณภาพลง พวกเราอยากให้หลวงปู่มาช่วยฟื้นฟูก่อตั้งวัด พวกเราจะได้อนุโมทนาบุญ
หลวงปู่จวบ : เรายินดีที่จะช่วยเหลือพวกท่าน ให้ได้สร้างบุญ
หลวงปู่จวบ : คุณวี ฉันอยากให้คุณวี ไปอยู่ดูแลรักษาและปฏิบัติพระกรรมฐาน ที่ถ้ำนั้น พวกพญานาคทั้งหลายจะคอยช่วยเหลือ
พระอาจารย์วี : ครับหลวงปู่ ถ้าหลวงปู่เห็นว่าเหมาะสม ผมจะไปดูแลรักษาสถานที่นั้นครับ
ต่อมาไม่นานคุณเขม อาราธนานิมนต์ พระอาจารย์ วี มาจำพรรษาที่บริเวณไร่ โดยพระอาจารย์ได้จำพรรษาเพียงรูปเดียวเป็นเวลาติดต่อกัน 5 พรรษา และได้ศึกษาเล่าเรียนกับครุบา อาจารย์อีกหลายท่าน จนมีญาติโยมเริ่มรู้จักท่าน และได้เดินทางไปมาหาสู่กับพระอาจารย์ วี ท่านได้จำพรรษาในบ้านเรือนร้าง (ซึ่งก่อนหน้านั้นเป็นบ้านพักคนงานที่ดูแลไร่ และ มีสภาพค่อนข้างเก่ามาก) จนทำให้คุณเขมได้เกิดความเลื่อมใสศรัทธา ในพระอาจารย์ วี ซึ่งเป็นผู้ที่ตั้งใจประพฤติปฏิบัติ และได้ช่วยเหลือญาติโยม จึงทำให้เกิดความศรัทธาของชาวบ้านบริเวณนั้น
พระอาจารย์ วี ได้ไปมาหาสู่และอุปัฏฐากหลวงปู่จวบ และศึกษาเล่าเรียนกับหลวงปู่จวบ เป็นเวลาติดต่อกันหลายปี หลวงปู่ได้เมตตาอบรมสั่งสอนและถ่ายทอดอักขระวิชา เลขยันต์ การทำน้ำพระพุทธมนต์เพื่อช่วยปัดเป่ารักษาโรคให้แก่ญาติโยม และวิชาการต่างๆอีกมากมาย จนท่านสามารถเอาตัวรอด สร้างความเลื่อมใสศรัทธาต่อญาติโยม หลังจากนั้น พอเข้ากลางพรรษา ในขณะที่ท่านพระอาจารย์ วีได้เข้าพรรษาอยู่ ในช่วงกลางพรรษาปี พ.ศ. 2549 คุณเขมได้เข้ามาหาท่านอาจารย์วี และเล่านิมิตให้ฟังว่า "มีตาผ้าขาวรูปหนึ่งได้มาหา และบอกกล่าวว่า หลวงปู่จวบจะมีอายุขัย อยู่ได้อีกไม่นาน เนื่องจากท่านชราภาพมากแล้ว เห็นว่าคุณเขม อยากจะสร้างบารมีใหญ่ ทำไมไม่รีบถวายที่ดินให้กับท่าน เพราะหลวงปู่เป็นเนื้อนาบุญที่ดี จะส่งผลบุญมหาศาลในปัจจุบัน และอนาคตเบื้องหน้า หากไม่เร่งรีบจะเสียโอกาสอย่างใหญ่หลวง " พระอาจารย์ วี เมื่อได้ฟังนิมิตนั้น จึงพิจารณา และบอกคุณเขมว่า ให้คุณเขมได้ไปปรึกษากับครอบครัวเพื่อจะได้อนุโมทนาในการถวายที่ดินแห่งนี้
อีกเหตุการณ์หนึ่ง คือ พระอาจารย์ วี ได้เล่านิมิตให้ฟังว่า "ท่านพระอาจารย์ ได้เห็นต้นไม้ใหญ่ สวยงามใบเขียวชอุ่ม สมบูรณ์ กำลังจะล้มลง ท่านพระอาจารย์ได้มัดเชือกไว้กับต้นไม้ใหญ่ ต้นไม้ใหญ่ต้นนี้มีท่าทีว่าจะล้มลงท่านพระอาจารย์และคณะศิษย์ก็พยายามดึงเชือกไว้อย่างสุดแรง ต้นไม้ใหญ่นั้น จากเขียวชอุ่มก็กลายเป็นไม้ที่แห้งผาด กำลังจะล้มลง เมื่อท่านพระอาจารย์เห็นว่าดึงเชือกไม่ไหว จึงได้ปล่อยต้นไม้นั้นให้ล้มลง ดังสนั่นหวั่นไหวไปหมด" นิมิตที่เกิดขึ้นเป็นนัยบอกเหตุการณ์ล่วงหน้าที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ภาพ หลวงปู่ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ให้พระอาจารย์วี (หลวงปู่ครอบครู)
ภาพ หลวงปู่ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ให้พระอาจารย์วี
ภาพ พระอาจารย์วี ดูแลอุปัฏฐากหลวงปู่จวบ
ภาพ พระอาจารย์วี ดูแลอุปัฏฐากหลวงปู่จวบ
ครอบครัวศรีสุพรรณถวายที่ดินแก่คณะสงฆ์
เมื่อคุณเขมได้ไปปรึกษากับครอบครัวเพื่อจะได้อนุโมทนาในการถวายที่ดินแห่งนี้ ครอบครัวศรีสุพรรณได้เห็นดีเห็นงาม จึงได้ชักชวนญาติมิตรและเพื่อนฝูง พร้อมด้วยคณะศิษย์ของหลวงปู่จวบ มาร่วมอนุโมมนาในการถวายที่ดินแด่สงฆ์ จึงได้นิมนต์พระสงฆ์จาก 5 วัด จำนวน 5 รูป มาร่วมเป็นคณะสงฆ์ที่จะได้รับมอบถวายที่ดิน โดยได้นิมนต์หลวงปู่จวบเป็นประธาน เมื่อคณะศิษย์ได้มาพร้อมเพรียงกันที่กุฏิหลวงปู่ ได้กล่าวคำถวายที่ดินให้แด่สงฆ์ พร้อมมอบเอกสารที่ดิน (ภบท 5) ให้กับหลวงปู่จวบและคณะสงฆ์ผู้รับมอบถวาย เมื่อรับเอกสารนั้นแล้ว พระสงฆ์ได้อนุโมทนา จึงขอให้หลวงปู่ตั้งชื่อวัดให้ หลวงปู่ได้ให้นาม ชื่อวัดว่า "วัดป่าญาณรังษี" พร้อมเจิมป้ายชื่อวัด เพื่อเป็นปฐมฤกษ์ หลังจากนั้นญาติโยมก็ร่วมอนุโมทนา และถวายวัตถุปัจจัย จำนวน 200,000 บาท เพื่อเป็นทุนในการก่อสร้างวัดต่อไป
ภาพ ถวายที่ดิน ใบ ภบท. 5 ให้แด่คณะสงฆ์
ภาพ หลวงปู่จวบเจิมป้ายวัดป่าญาณรังษีเป็นปฐมฤกษ์
พระอาจารย์วี ดำริที่จะสร้างวัดจึงได้ปรึกษากับหลวงปู่จวบ
หลังจากออกพรรษา พระอาจารย์วี ได้ไปกราบนมัสการหลวงปู่ และ ได้ขอคำแนะนำจากหลวงปู่ เรื่องการสร้างวัด หลังจากนั้นพระอาจารย์ วี ได้อาราธนานิมนต์หลวงปู่จวบ เพื่อมาเป็นประธานในการวางศิลาฤกษ์ ในการเริ่มก่อตั้งวัดป่าญาณรังษี โดยกำหนดวางศิลาฤกษ์ ในวันอาทิตย์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 เวลา 9:39 น. ในช่วงนั้นหลวงปู่มีอาการป่วยและได้รับการรักษาตัวจากโรงพยาบาล หลังจากทำบุญวันเกิดหลวงปู่จวบ วันที่ 21 พฤษจิกายน 2549 หลวงปู่จวบได้กลับมาจากโรงพยาบาล เพื่อมาพักฟื้นร่างกายที่กุฏิของท่าน หลังจากได้ทำบุญ ในวันที่ 4 มกราคม 2550 ครบรอบคล้ายวันมรณภาพ ของพระอาจารย์สอน (เจ้าอาวาสวัดพลับ องค์ที่ 18 เป็นพระอาจารย์ของหลวงปู่จวบ) หลวงปู่ได้มรณะภาพลง ในวันที่ 15 มกราคม 2550 เวลา 04:04 น. ในอาการสงบ ที่โรงพยาบาลธนบุรี กทม. ซึ่งเป็นไปตามที่ตาผ้าขาวได้บอกไว้ในนิมิต เมื่อท่านได้มรณะภาพพระอาจารย์วีได้ไปร่วมงานศพ หลังจากจัดงานและบรรจุศพหลวงปู่จวบเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พระอาจารย์วีได้กลับมาพิจารณาความตั้งใจของหลวงปู่และคณะศิษย์ ที่จะสร้างวัด พระอาจารย์วี ไม่ย้อท้อต่อปัญหา และอุปสรรค ในการที่หลวงปู่ได้ดำริและรับมอบที่ดิน เป็นประธานสงฆ์ในการตั้งวัดป่าญาณรังษี จึงได้เร่งรีบปรับพื้นที่ดินบางส่วน และ เร่งก่อสร้าง ห้องน้ำ จำนวน 9 ห้อง เพื่อให้ทันงานพิธีวางศิลาฤกษ์ จะได้สะดวกแก่ ญาติโยมที่จะมาร่วมพิธีในครั้งนั้น
พิธีวางศิลาฤกษ์ในการก่อตั้งวัดป่าญาณรังษี
ในวันงาน ได้นิมนต์พระสงฆ์จำนวน 9 รูป มาเจริญพระพุทธมนต์ และได้นิมนต์ หลวงพ่อคูณอัครธัมโม (พระครูสุวรรณโพธิเขต) วัดป่าโพธิ์สุวรรณ มาเป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์ ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา 9:39 น. โดยได้วางศิลาฤกษ์ จำนวน 3 จุด เพื่อเป็นสิริมงคลและความเจริญรุ่งเรืองของวัดป่าญาณรังษี นับว่าเป็นจุดเริ่มต้น ในการก่อตั้งวัดป่าญาณรังษี
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)